

สารเติมแต่ง เป็นสารที่ใช้ผสมในพลาสติกเพื่อปรับปรุงสมบัติต่างๆ ของพลาสติกให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้งาน บริษัทฯ มีสารเติมแต่งหลายประเภท โดยลูกค้าสามารถเลือกได้ว่าจะใช้ในลักษณะผง หรือเม็ด นอกจากนี้เพื่อความสะดวกในการใช้งาน สารเติมแต่งเหล่านี้สามารถผสมลงในผลิตภัณฑ์สี เช่น สีผง สีเม็ดเข้มข้นมาสเตอร์แบทซ์ หรือสีเม็ดสำเร็จรูปคอมปาวด์ได้ตามความต้องการ
ประเภทของสารเติมแต่ง | ประโยชน์ | ปริมาณการใช้ (phr) |
สารป้องกันการเกิดออกซิเดชั่น (Antioxidants) |
เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพของพลาสติกจากการทำปฏิกิริยากับออกซิเจน ในสภาวะที่มีความร้อน และแรงเฉือนในกระบวนการผลิต | 0.02-1 |
สารเพิ่มเสถียรภาพทางแสงยูวี (UV Stabilizers) |
เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพของพลาสติกจากแสง และความร้อน | 0.1-0.3 |
สารดูดกลืนแสงยูวี (UV Absorbers) |
เพื่อดูดซับแสงแทนพลาสติก และป้องกันการเสื่อมสภาพของพลาสติกที่มีผลต่อตุณสมบัติเชิงกล และเฉดสี | 0.1-0.3 |
สารป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ (Anti-static Agents) |
เพื่อลดการสะสมของประจุไฟฟ้าที่พื้นผิวของชิ้นงาน ลดการสะสมของฝุ่น |
0.2-0.5 |
สารป้องกันจุลินทรีย์ |
เพื่อป้องกันพลาสติกจากแบคทีเรีย เชื้อรา และตะไคร่น้ำ ที่เป็นสาเหตุทำให้พลาสติกสูญเสียความแข็งแรง ลักษณะภายนอกเปลี่ยนไป และอาจก่อให้เกิดกลิ่นเหม็น |
0.1-1.0 |
สารทำให้ลื่น (Slip Agents) |
เพื่อลดความเสียดทานระหว่างผิวฟิล์ม ทำให้ลื่นและแยกออกจากกันได้ง่าย |
0.1-1.0 |
สารป้องกันการยึดติด (Anti-Blocking Agents) |
เพื่อเพิ่มความขรุขระให้กับผิวฟิล์ม ทำให้ฟิล์มแยกออกจากกันได้ง่าย | |
สารเพิ่มความทนทานต่อแรงกระแทก (Impact Modifiers) |
เพื่อเพิ่มคุณสมบัติในด้านความทนแรงกระแทก และความเหนียวให้กับพลาสติก โดยเฉพาะการนำไปใช้งานที่อุณหภูมิต่ำ | 5-25 |
สารก่อผลึก (Nucleating Agents) |
เพื่อลดรอบเวลาในการผลิต เพิ่มคุณสมบัติเชิงกล และความทนทานต่อตัวทำละลายให้กับพลาสติก | 0.1-0.2 |
สารก่อผลึกเพื่อเพิ่มความใส (Clarifying Agents) |
เพื่อเพิ่มความใสให้กับชิ้นงานพลาสติก PP ชนิด Homopolymer | 0.1-0.2 |
สารเสริมแรง (Reinforcing Materials) |
เพื่อเพิ่มคุณสมบัติเชิงกลให้กับพลาสติก เช่น ความทนแรงดึง และความทนแรงดัดโค้ง |
5-50 |
สารเติม (Fillers) |
เพื่อลดการหดตัวของชิ้นงาน ลดต้นทุนในการผลิต และเพิ่มคุณสมบัติเชิงกลได้ เช่น ความทนแรงดัดโค้ง และความแข็ง | 5-50 |
สารให้กลิ่น (Fragrance) |
เพื่อให้ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีกลิ่นหอมที่ต้องการ | 5-20 |
สารช่วยการกระจายตัว (Dispersing Agents) |
เพื่อให้สี หรือฟิลเลอร์มีการกระจายตัวที่ดีในเนื้อของพลาสติก | 0.1-0.5 |
สารช่วยในกระบวนการผลิต (Processing Aids) |
เพื่อเพิ่มผลผลิต ลดปัญหาผิวฟิล์มไม่เรียบ และ die build-up | 0.2-1 |
สารทำให้เกิดฟอง (Chemical Blowing Agents) |
เมื่อได้รับความร้อน สารนี้จะให้ก๊าซซึ่งจะทำให้พลาสติกมีโครงสร้างเป็นรูพรุน เนื่องจากมีอากาศแทรกอยู่ภายในเนื้อพลาสติก | 1.0-5.0 |
สารหน่วงไฟ (Flame Retardants) |
เพื่อให้พลาสติกที่ติดไฟไม่ลุกลาม เผาไหม้ช้าลง หรือดับไฟได้เอง | 10-50 |